สำหรับใครที่มีที่ดินอยู่แล้ว และอยู่ในขั้นตอนกำลังตัดสินใจจะสร้างบ้าน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกแบบบ้านชั้นเดียว หรือแบบบ้านสองชั้นดี ลองพิจารณาจากปัจจัยและความเหมาะสมในด้านต่างๆ ต่อไปนี้เพื่อช่วยตัดสินใจ 1. ความต้องการ/ฟังก์ชั่น และขนาดพื้นที่ใช้สอย การกำหนดความต้องการใช้งานในบ้านหรือฟังก์ชั่นของบ้าน จะมีผลต่อขนาดพื้นที่ใช้สอย จำนวนชั้นและลักษณะของบ้าน ยกตัวอย่างเช่น ปลูกเรือนหอสามชั้นเพื่อเตรียมขยายครอบครัวซึ่งมีความต้องการพิเศษ เช่น ห้องอเนกประสงค์ ห้องทำงาน ฯลฯ, สร้างบ้านใหม่สองชั้นโดยเตรียมพื้นที่สำหรับพ่อแม่อยู่อาศัย (ผู้สูงอายุ) ในชั้นล่าง, สร้างบ้านชั้นเดียวเพื่ออยู่อาศัยในวัยชรา, สร้างบ้าน 4 ชั้นเพื่อทำธุรกิจควบคู่ด้วย เช่น สำนักงาน ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือปล่อยเช่าบางส่วน เป็นต้น ดังนั้น เจ้าของบ้านควรทำรายการความต้องการใช้สอยพื้นที่ของบ้านในส่วนต่างๆ เตรียมไว้ เพื่อปรึกษาสถาปนิกให้ออกแบบตรงตามความต้องการ หรือเลือกแบบบ้านที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกในบ้านน้อยประมาณ 1-3 คน อาจเลือกแบบบ้านชั้นเดียวได้ หากไม่ได้มีความต้องการพื้นที่ใช้สอยมากนัก นอกจากนี้แบบบ้านชั้นเดียวยังเหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ โดยทำเป็นพื้นระดับเดียวไม่มีขั้นบันได เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ส่วนครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคนหรือบ้านที่ทำธุรกิจควบคู่ไปด้วย แบบบ้านสองชั้นหรือหลายชั้นจะตอบโจทย์การใช้งานมากกว่า เพราะสามารถออกแบบและจัดสรรพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสม เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น มีสวนภายนอกสำหรับเด็กหรือสัตว์เลี้ยง มีบ่อปลาคาร์พ มีพื้นที่จอดรถได้หลายคัน ออกแบบพื้นที่และห้องนอนและห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ หรือแบ่งพื้นที่ชั้นล่างเป็นส่วนที่คนนอกเข้าใช้งานได้เป็นร้านหรือสำนักงาน
Category Archive for: article
หลายคนอาจสงสัยว่าการปูกระเบื้องเซรามิกในห้องน้ำนั้น ต้องมีลำดับขั้นตอนอย่างไรบ้าง ควรปูกระเบื้องพื้นหรือกรุกระเบื้องผนังก่อนกัน รวมถึงการติดตั้งฝ้าเพดานว่าควรจะเข้าช่วงไหนจึงจะดีที่สุด ระหว่างติดตั้งฝ้าก่อนการปูกระเบื้อง หรือ การติดตั้งหลังจากปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยทั่วไป ช่างจะนิยมลำดับการทำงานจากบนลงล่าง คือ ติดตั้งฝ้าเพดานก่อน จากนั้นจึงกรุกระเบื้องผนัง แล้วจึงตามด้วยการปูกระเบื้องพื้น เพราะง่ายต่อการเก็บทำความสะอาดและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น หากติดตั้งกระเบื้องพื้นไปแล้ว และมาทำงานฝ้าหรือปูกระเบื้องผนัง ก็อาจมีน้ำหนักกดทับจากนั่งร้าน เศษวัสดุ หรืออุปกรณ์ตกหล่นลงมา กระแทกจนอาจส่งผลให้กระเบื้องเซรามิกแตกร้าวเสียหายจนต้องรื้อบางส่วนแล้วปูใหม่ได้ รวมทั้งเศษสิ่งสกปรกเช่นเศษปูนที่ตกลงมาจนทำให้เลอะผิววัสดุกระเบื้องพื้นที่ยากต่อการขจัดเอาเศษปูนออกเช่นกัน ดังนั้นขั้นตอนที่เหมาะสมจึงควรเริ่มจากการติดตั้งฝ้าเพดานให้เรียบร้อยก่อน ตามด้วยการกรุกระเบื้องผนังโดยเว้นแถวล่างเอาไว้ แล้วจึงปูกระเบื้องพื้น จากนั้นจึงปิดท้ายด้วยการกรุกระเบื้องผนังแถวล่างในลักษณะ “ผนังอมพื้น หรือ กระเบื้องผนังวางอยู่บนกระเบื้องพื้น” จึงเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ (บางกรณี อาจกรุกระเบื้องผนังโดยเว้นส่วนล่างในระยะที่พอดีกับการติดตั้งกระเบื้องพื้น ซึ่งกระเบื้องพื้นจะสามารถสอดเข้าไปใต้กระเบื้องผนังได้พอดี ก็สามารถทำได้เช่นกัน) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการควบคุมกระบวนการของแต่ละหน้างานด้วย บางกรณีอาจติดตั้งกระเบื้องก่อนงานติดตั้งฝ้าเพดานซึ่งก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่หลังจากติดตั้งกระเบื้องเสร็จเรียบร้อยจะต้องรอระยะเวลาการเซตตัวให้เหมาะสม และเมื่อช่างจะเข้ามาติดตั้งฝ้าเพดาน จะต้องมีการป้องกันและเตรียมการอย่างดีไม่ให้บริเวณที่ปูกระเบื้องเสร็จแล้วได้รับความเสียหาย หรือมีการรับประกันหากเกิดความเสียหายกับพื้นกระเบื้องขึ้น นอกจากลำดับก่อนหลังในการติดตั้งแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ของงานห้องน้ำคือ “การทำระบบกันซึมที่ดีก่อนการปูกระเบื้อง” ทั้งในส่วนของงานปูนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโซนเปียก และงานรอยต่อระบบท่อ อีกทั้งอย่าลืมศึกษาคู่มือการติดตั้งวัสดุกระเบื้องและฝ้าเพดานของผู้ผลิตแต่ละราย Cr. SCG
ปัญหาที่มักต้องเจอเป็นอันดับแรกคือ เมื่อต้องวางแผนก่อสร้างบ้าน การจัดทำรายการวัสดุที่ต้องสั่งซื้อพร้อมประเมินราคาค่าก่อสร้าง จะทำได้ลำบาก เนื่องจากการสเปควัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ยังไม่ครบถ้วนทั้งหมด ต่อมาเมื่อถึงขั้นตอนดำเนินงาน จะพบว่าการก่อสร้างโดยปราศจาก “แบบสถาปัตยกรรม” ที่จัดทำโดยสถาปนิกนั้น ย่อมขาดการระบุรายละเอียดการก่อสร้างและการติดตั้งวัสดุอย่างละเอียด ทำให้การจบงานตามรอยต่อของวัสดุต่างชนิดกันอาจมีปัญหา และเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขณะก่อสร้าง หรือเกิดปัญหาการใช้งานในภายหลังได้ นอกจากนี้ ตำแหน่งและทิศทางพื้นที่ใช้สอยที่กำหนดไว้ในแบบบ้านฟรี บางครั้งก็ไม่เหมาะกับที่ดินของเรา เช่น ห้องที่ใช้งานบ่อยๆ อย่างห้องนอน ห้องนั่งเล่น ไปอยู่ติดกับทิศตะวันตกที่โดดแดดส่องอย่างแรงยามบ่าย ในขณะที่ห้องครัวอยู่ในตำแหน่งลมพัดเข้า ทำให้กลิ่นควันฟุ้งกระจายเต็มบ้าน เป็นต้น ปัญหาอีกเรื่องที่สำคัญคือ แบบงานระบบลงรายละเอียดเชิงลึก ทั้งระบบไฟฟ้า ซึ่งแสดงตำแหน่งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ สเปคของอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า พร้อมชนิดและขนาดของสายไฟที่เหมาะสม ตามประเภทและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่กำหนดไว้ ระบบประปาและสุขาภิบาล ซึ่งแสดงขนาดและตำแหน่งถังเก็บน้ำ ปั๊มน้ำ พร้อมแนวการเดินท่อน้ำดีน้ำเสียที่เหมาะสม รวมถึงระบบการสื่อสารและรักษาความปลอดภัย (ถ้ามี) เช่น กล้องวงจรปิด โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ซึ่งควรระบุตำแหน่งเดินสายไฟและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ลงในแบบให้ครบถ้วนด้วย สิ่งเหล่านี้มีผลมากต่อความราบรื่นในการอยู่อาศัยใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เน้นความเรียบร้อยสวยงาม แต่รายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มักไม่ระบุไว้ในแบบขออนุญาตทั่วไป หากมิได้ว่างจ้างผู้ชำนาญให้รับผิดชอบจัดทำส่วนนี้โดยตรง จะเห็นได้ว่า หากเจ้าของบ้านต้องการใช้แบบบ้านฟรีในการก่อสร้างโดยผ่านกระบวนการข้างต้นนั้น ควรใส่ใจศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างและขั้นตอนการสร้างบ้านให้มากพอสมควร รวมถึงเลือกผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ สามารถไว้ใจได้
การสร้างบ้านที่ดีย่อมต้องมี “แบบบ้าน” โดย (ว่าที่) เจ้าของบ้านสามารถจ้างสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบบ้านให้ ในขณะเดียวกัน เจ้าของบ้านอาจมีข้อสงสัยว่า หากได้รับแบบบ้านฟรีเป็นเล่ม หรือหาแบบตามหนังสือ ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต จะนำมาให้ผู้รับเหมาดำเนินการก่อสร้างบ้านเลยได้หรือไม่ ? โดยกระบวนการที่ถูกต้อง ก่อนสร้างบ้านจะต้องมีการยื่นขออนุญาต ต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ (ยกเว้นบางพื้นที่ที่ไม่ถูกกำหนดเป็นเขตควบคุม ซึ่งมีไม่มากนัก) ทั้งนี้ ในการขออนุญาตจำเป็นต้องใช้ “แบบขออนุญาตก่อสร้าง” ที่มีการแสดงรายละเอียดตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้ ในส่วนนี้แบบบ้านฟรีทั่วไปมักมีให้ไม่ครบ โดยเฉพาะแบบสำคัญที่ต้องแสดงรายละเอียดต่างๆ (ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และรูปแบบที่ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อพื้นที่ข้างเคียง) เช่น แบบโครงสร้างพร้อมรายการคำนวณ แบบและวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย แบบและจำนวนห้องน้ำห้องส้วม การจัดแสงสว่าง การระบายอากาศ แบบระบบประปาและสุขาภิบาล ฯลฯ ดังนั้น อย่างน้อยที่สุด เจ้าของบ้านที่ต้องการใช้แบบบ้านฟรี จะต้องอาศัยผู้มีความชำนาญในการจัดทำแบบขออนุญาตก่อสร้าง รวมถึงผ่านการตรวจสอบพร้อมเซ็นอนุมัติจากทั้งวิศวกรและสถาปนิกผู้มีใบประกอบวิชาชีพด้วย ก่อนที่จะยื่นขออนุญาต หลังจากยื่นขออนุญาตก่อสร้างผ่านแล้ว หากนำแบบบ้านที่มี “ไปใช้ก่อสร้างบ้านทันที” เจ้าของบ้านมักต้องเจอปัญหายุ่งยาก ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อสร้าง ระหว่างขั้นตอนการสร้างบ้าน ไปจนถึงตอนก่อสร้างแล้วเสร็จ ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจกระเทือนไปถึงปัญหาขณะอยู่อาศัยใช้งานในอนาคตด้วย เพราะถึงแม้ว่าแบบบ้านจะผ่านการตรวจสอบพร้อมเซ็นอนุมัติโดยวิศวกรและสถาปนิก รวมถึงได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยหน่วยงานทางราชการแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการลงรายละเอียดเบื้องต้นที่เพียงแค่ “ผ่านเกณฑ์ขออนุญาตอย่างถูกกฎหมาย” เท่านั้น Cr. SCG
เมื่อคุณสร้างบ้านใหม่ คุณจะต้องใช้ทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก กว่าที่บ้านจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักๆ นั้น จะมากับตัวบ้านนั่นเอง หลังจากสร้างบ้านเสร็จแล้ว คุณยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการตกแต่งภายใน ตกแต่งรอบบริเวณบ้าน และซื้อเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของต่างๆ เข้าบ้านอีก ดังนั้น หากอยากประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าอยู่ได้อย่างสบายใจ ก็ควรทราบว่า เมื่อจะย้ายเข้าอยู่บ้านใหม่ ต้องซื้ออะไรก่อน ฟูกหรือที่นอน เครื่องนอนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราต้องนอนทุกวัน และการนอนหลับพักผ่อนที่ดี จะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ร่างกายแข็งแรง โซฟา เมื่อซื้อฟูกหรือที่นอนแล้ว สิ่งที่คุณควรซื้อถัดมาคือโซฟา สำหรับการนั่งพักผ่อนภายในบ้านของคุณด้วย สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เครื่องครัวสำหรับทำอาหารทาน หากคุณทำอาหารไม่กี่อย่าง และทำไม่บ่อย ก็ควรซื้ออย่างที่จำเป็นต้องใช้ แต่ก็ควรมีจาน ชาม และอุปกรณ์สำคัญให้ครบ เพื่อใช้เพียงพอในครอบครัว และสำหรับรับแขกได้ แก้วน้ำและจาน คุณควรซื้อแก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม อุปกรณ์สำหรับการรับประทานอาหารเตรียมไว้ให้พร้อม ซึ่งมันคือการลงทุนที่คุ้มค่าเพราะมันใช้ได้นาน และทำให้เรารับประทานอาหารได้อย่างถูกสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น อุปกรณ์ภายในห้องน้ำ ห้องน้ำ เป็นอีกหนึ่งห้องที่มีความสำคัญ ดังนั้น อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ ควรมีให้พร้อม เพื่อความสะอาด และสุขอนามัยของคุณ และคนในครอบครัว โต๊ะและเก้าอี้ที่สบาย ถ้าคุณทำงานที่บ้าน การเลือกโต๊ะและเก้าอี้นั่งที่เข้ากับรูปร่างและสรีระของคุณถือเป็นสิ่งสำคัญ ดีต่อสุขภาพ
สำหรับฤดูฝนที่ผ่านมานั้น เจ้าของบ้านท่านใดที่ได้เผชิญกับปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึม จนน้ำหยดไหลเข้าบ้าน คงจะเป็นเรื่องที่น่าหนักใจมิใช่น้อย แม้กระทั่งการหาตำแหน่งต้นตอของการรั่วซึมเพื่อลงมือแก้ไข บางทีก็ไม่ง่ายเสมอไป เพราะน้ำที่รั่วเข้าทางหลังคาบ้านอาจไหลไปตามโครงสร้างแล้วหยดลงฝ้าเพดานในตำแหน่งที่ไกลออกไป หรือแม้กระทั่งไหลไปหยดลงเพื่อนบ้าน (ทาวน์โฮม)ที่อยู่ติดกัน ก็มี หนทางที่จะช่วยในการหลีกเลี่ยงปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึมนั้น ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจถึง “ความเสี่ยงต่อการรั่วซึมของหลังคาบ้าน” เพื่อที่จะทำการป้องกันหรือแก้ไขได้ถูกจุดก่อนที่จะถึงฤดูฝนถัดไป ซึ่งมีทั้ง “จุดเสี่ยงรอยต่อหลังคาบ้าน” และ “จุดเสี่ยงบนผืนหลังคาบ้าน” โดยจะขอเริ่มต้นที่จุดเสี่ยงรอยต่อหลังคาบ้านก่อน สำหรับหลังคาบ้านที่มีความสลับซับซ้อนมากจะมีรอยต่อมาก ย่อมเสี่ยงที่จะรั่วซึมได้มาก โดยมักเกิดขึ้นในบริเวณดังต่อไปนี้ บริเวณครอบสันหลังคาและตะเข้สัน เป็นแนวรอยต่อระหว่างผืนหลังคา 2 ผืน ซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ครอบ” เป็นตัวปิดรอยต่อ บริเวณนี้อาจเกิดการร้าวรั่วซึมได้ด้วยสาเหตุต่างๆ หากเป็นระบบครอบเปียกที่ใช้ปูนปั้นยึดครอบกับกระเบื้องอาจมีการเสื่อมสภาพของปูนยึดครอบ หรือเกิดปัญหาที่ตัวครอบเอง รวมถึงวิธีติดตั้งที่ผิด เช่น วางแปคู่สันห่างเกินไป มุงครอบเผยอ ใส่ปูนทรายล้นหัวกระเบื้อง เป็นต้น วิธีแก้ไข ในส่วนของปูนยึดครอบที่เป็นปัญหา ควรรื้อปูนที่พอกออก แล้วติดตั้งครอบใหม่ให้ถูกวิธี หากแปคู่สันห่างเกินไป ให้รื้อออกแล้ววางใหม่ด้วยเช่นกัน กรณีครอบเผยอ ให้รื้อทำใหม่โดยเจียรแต่งปลายครอบให้เรียบร้อย ทั้งนี้หากตรวจเช็คดูแล้วพบว่าตัวครอบหลังคาเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนใหม่ไปเลย และสำหรับผู้ที่กำลังสร้างบ้านใหม่ ควรใส่ใจเรื่องการติดตั้งครอบให้ถูกวิธีตั้งแต่ต้น เพื่อลดปัญหาในระยะยาว และจะให้ดีควรใช้ชุดอุปกรณ์ป้องกันรั่วซึมที่ผลิตมาเพื่อกระเบื้องหลังคาบ้านแต่ละรุ่นโดยเฉพาะ เช่น ระบบครอบแบบแห้ง (Drytech
แน่นอนครับว่าบ้านที่เราอยู่อาศัยทุกหลังมีอายุการใช้งาน เมื่อถึงเวลาก็ต้องบำรุงรักษา ซ่อมแซมกันหน่อย แต่ทำอย่างไรให้ไม่ต้องซ่อมบ่อยๆ เสียเงินบ่อยโดยใช่เหตุ เรามาดูกันเลยครับ 1.ตรวจสอบการรั่วซึมของหลังคาบ้าน เนื่องจากหากมีการรั่วซึมของหลังคาจะให้ให้เกิดคราบเลอะ เป็นรอยตะไคร่น้ำตามเพดานฝ้าทำให้ได้รับความเสียหาย ดูไม่น่ามอง และยังอาจทำให้ข้าวของภายในบ้านเปียกอีกด้วย ต้องรีบแก้ไข ปูกระเบื้องมุงหลังคาที่แต่แตก และเปลี่ยนฝ้าใหม่ 2.พื้นกระเบื้องไม่ควรปล่อยให้มีน้ำขัง พื้นหากมีน้ำขังปล่อยไว้อาจจะมีตะไคร่มาจับ ทำให้ลื่นหกล้มได้ง่าย ดังนั้นควรขัด เช็ดน้ำให้แห้ง 3.ไม่ควรทิ้งขยะลงไปในท่อ เพราะจะทำให้อุดตันได้ ไม่ควรทิ้งขยะลงในท่อระบายน้ำ เพราะอาจทำให้ท่ออุดตันจนไม่สามารถระบายน้ำได้ ต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอีกด้วย ควรทิ้งในถุงขยะที่จัดเตรียมไว้ 4.ดูแลสวน และต้นไม้ไม่ให้รก ควรดูแลต้นไม้ ตัดหญ้า ตัดกิ่งที่ขึ้นมารกให้ดูเป็นระเบียบ หากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์มีพิษพวก งู ตะขาบ และควรรดน้ำต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้งามให้ร่มเงาไม่แห้งเหี่ยวและตายไป 5.หมั่นเช็คสภาพระบบไฟฟ้าปลั๊ก สายไฟว่ามีรอยชำรุดเสียหายหรือไม่ ควรสังเกตตรวจสอบสายไฟ ปลั๊กไฟ หลอดไฟ หากพบว่าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกภายในบ้านไม่ให้เกิดอันตรายจาก ไฟฟ้ารัดวงจร ไฟช็อต ไฟรั่ว หรืออาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ 6. หมั่นทำความสะอาดปัดกวาดเช็ดถูบ้านอยู่เสมอ บ้านที่สะอาดย่อมทำให้บ้านน่าอยู่ เจริญหูเจริญตา มองแล้วอารมณ์ดี ป้องกันฝุ่นหรือเชื้อโรคเพื่อสุขภาพที่ดีของเราอีกด้วย ทำความสะอาดรีโมท ที่จับประตู ทำความสะอาดฟองน้ำล้างจาน
ฮวงจุ้ยบ้าน 2560 จัดบ้านอย่างไรให้เป็นสิริมงคล น่าอยู่ และเป็นระเบียบต้อนรับปีใหม่ มาดูฮวงจุ้ยบ้าน 2560 จัดบ้านตามหลักฮวงจุ้ยต้อนรับปีใหม่ จัดอย่างไรให้มีแต่สิ่งดี ๆ เชื่อว่าทุกคนอยากจะก้าวเข้าสู่ปีใหม่ด้วยสิ่งดี ๆ ในทุก ๆ ด้านของชีวิต วันนี้กระปุกดอทคอมเลยนำฮวงจุ้ยบ้าน 2560 มาฝากกันค่ะ เพื่อให้คนรักบ้านได้นำไปตกแต่งและปรับปรุงบ้านให้พร้อมต้อนรับพลังงานดี ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยในปี 2560 มีนกฟีนิกซ์หรือวิหคแห่งไฟ (Fire Phoenix) เป็นสัตว์มงคลประจำปี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสำคัญทางด้านสุขภาพร่างกาย การงาน และการเงิน ซึ่งจะจัดบ้านอย่างไรให้น่าอยู่ เป็นระเบียบ หรือตกแต่งบ้านอย่างไรให้เป็นสิริมงคลตามหลักฮวงจุ้ยแต่งบ้าน 2560 ตามมาชมพร้อม ๆ กันเลยค่ะ 1. ความสะอาดของบ้านคือจุดเริ่มต้นที่ดี ก่อนถึงวันปีใหม่หรือจะทิ้งบ้านในวันหยุด ใช้เวลาช่วงนี้ค่อย ๆ เก็บกวาดบ้านไปทีละส่วน เพื่อเข้าสู่ปีใหม่ด้วยบ้านที่สะอาด เรียบร้อย ปราศจากปัญหา ความสับสนวุ่นวาย แวดล้อมไปด้วยสิ่งดี ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้ทำงาน ไม่ควรมีเอกสารหรือข้าวของใด ๆ วางสุมกัน เพราะข้าวของที่วางไม่เป็นระเบียบจะทำให้โชคลาภหรือโอกาสดี
งานตกแต่งเป็นงานที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง งานใดที่ให้ผลงานปรากฏแก่สายตาของผู้พบเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถึงความ สวยงามเรียบร้อย หรือโดดเด่นประทับใจร่วมอยู่ด้วย ก็อาจจัดอยู่ในส่วนของ งานตกแต่งได้ ซึ่งงานตกแต่ง ในที่นี้ส่วนใหญ่ มักจะ เป็นงานกึ่งก่อสร้าง กึ่งตกแต่งเสียมากกว่า งานหลักใน กลุ่มนี้ได้แก่ การบุฝ้าเพดาน การปูพื้นและบุผนัง การทาสี การติดตั้งสุขภัณฑ์ การติดตั้งดวงโคม ตลอดจนการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ งานในกลุ่มนี้ มักจะทำใน ขั้นตอนท้าย ๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานในขั้นตอนอื่น ๆ แล้ว การเรียงลำดับขั้นตอน ในส่วนของงานนี้ ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ งานบางขั้นตอนอาจจะทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำควบคู่กัน ไปก็ได้ แล้วแต่ความพร้อม หรือความเหมาะสมของ กำลังคนและวัสดุช่วงเวลานั้น ๆ นอกจาก งานบางขั้นตอน ที่สัมพันธ์กัน ก็จะต้องมี ลำดับก่อนหลัง เช่น การบุฝ้าเพดานจะต้องทำหลัง จากการมุงหลังคารวมทั้ง การเดินระบบท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟและสายไฟต่าง ๆ ในส่วนที่อยู่เหนือ ฝ้าเพดาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว การปูพื้นและบุผนัง จะต้องทำหลังจาก
งานก่อสร้างตัวบ้านเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องจากงานด้านโครงสร้าง งานหลักในส่วนนี้ได้แก่การ ก่อผนังและการติดตั้ง วงกบประตู หน้าต่าง ซึ่งจะต้องทำ ควบคู่กันไป เนื่องจากวงกบประตูหน้าต่าง และผนัง บ้านเป็นสิ่งที่ติดตั้ง เชื่อมต่อเข้า ด้วยกัน ซึ่งการทำผนังบ้าน ในขั้นตอนนี้ จะเป็นเพียงการก่ออิฐ ให้เป็นรูปเป็น ร่องก่อนเพื่อการติดตั้งวงกบ หลังจากทำการติดตั้ง วงกบเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉาบแต่งผนังไปพร้อม ๆ กับ การฉาบแต่งเสา และคาน ส่วนการติดตั้ง บานประต ูหน้าต่างอาจทำ การติดตั้งต่อเนื่องไปเลย หรืออาจจะค่อย ๆ ทยอยติดตั้ง หรืออาจ จะรอไปทำ ในช่วงหลังเลยก็ได้ หากเกรงว่า จะก่อเกิดความไม่สะดวกในการลำเลียงวัสดุ หรือก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษา ในกรณีของบ้านที่มีการเดินท่อน้ำ และสายไฟเป็นระบบฝัง การเดินท่อน้ำและท่อร้อยสายไฟในส่วน ที่จะต้องฝังอยู่ภายในผนัง ก็จะต้องทำในช่วงนี้ การวางท่อต่างๆ จะเริ่มทำหลังจาก ที่ก่อผนังด้วยอิฐแล้ว โดย จะทำ การเจียนผนังอิฐ ให้เป็นร่องลึกลงไป เป็นแนวตาม ที่กำหนด เพื่อจะได้วางท่อ ให้ฝังลงไป ในผนังได้ก่อนที่ จะทำ