ปัญหาสีหลุดร่อน เกิดสนิมตามบริเวณต่างๆและมีรอยร้าวตามผนังบ้าน เป็นปัญหาที่เจ้าของบ้านพบได้บ่อย ดดยเฉพาะบ้านที่มีอายุ 2-3ปีขึ้นไป สีหลุดร่อน หากบ้านที่มีสีหลุดร่อน หรือมีความชื้นซึมเข้ามา อาจจะเกิดจาก – มีความชื้นขึ้นมาจากพื้น – สีหมดสภาพไปตามกาลเวลา – ผิวคอนกรีตเสื่อมสภาพ การแก้ปัญหา – ทำความสะอาดผนัง ทาสีรองพื้น ปูนเก่า 1 เที่ยว แล้วทาสีจริง 2 เที่ยว – ขูดสีเดิมออก ซ่อมบริเวณที่มีความชื้น ทาสีรองพื้น 1 เที่ยว ทาสีจริง 2 เที่ยว สนิมขึ้น หากพบว่าประตูเหล็กหรือส่วนที่มีเหล็กเกิดผุกร่อน เป็นสนิม และลุกลาม ควรรีบทำการแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปอีก สนิมอาจเกิดจากความชื้นภานในบ้าน ความชื้นที่ขึ้นมาจากพื้นดิน หรือการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา สำหรับการแก้ไขก็คือ ควรตัดซ่อมตามแนว แล้วทาสีใหม่ รอยแตกร้าว รอยแตกร้าวจากคอนกรีต เกิดจากคอนกรีตหุ้มเหล็กน้อยเกินไป อากาศจึงเข้าไปทำปฏิกิริยา ทำให้เป้นสนิมและเกิดรอยแตกร้าวได้ด้วย การแก้ไข ควรสกัดตามแนวคอนกรีตเป็นรูปเหลี่ยม และนำเหล็กมาเชื่อมทาบขนาดเดิม นอกจากนี้
บ้านที่มีตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป จำเป็นต้องมีบันไดเพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินขึ้นลงในชั้นต่างๆ แม้ว่าบางบ้านที่หรูหราจะมีลิฟต์ก็ตาม แต่บันไดก็ยังมีความสำคัญ และต้องมี เผื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือการเดินขึ้นลงเพียง 2-3 ชั้น ก็ควรที่จะใช้บันได ในแง่ของฮวงจุ้ย เขาจะบอกว่าอย่าหันบันไดบ้านไปทางทิศตะวันตกเพราะเป็นทิศที่เกี่ยวกับคนตายและสิ่งอัปมงคลทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งจะทำให้คนในบ้านอยู่กันอย่างไม่เป็นสุข และเกิดความซวยได้ แต่ถ้าว่ากันตามหลักการออกแบบแล้วก็ไม่แนะนำให้หันบันไดไปทางทิศตะวันตกเช่นกัน เนื่องจากทิศตะวันตกเป็นทิศที่มีแสงบ่ายค่อนข้างแรงอาจทำให้การใช้งานบันไดที่มีแสงบ่ายส่องตาอาจทำให้เจ้าของบ้านแสบตาจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้นั้นเอง แต่หากมีความจำเป็นต้องวางบันไดหันไปทางทิศตะวันตก ก็ไม่ควรให้ผนังด้านที่บันไดมุ่งไปหานั้นมีแสงส่องผ่านมาทางหน้าต่างได้ โดยอาจเปลี่ยนเป็นการนำแสงธรรมชาติลงมาจากด้านบนเพดานแทนก็ได้ รูปแบบของบันไดที่ใช้ ส่วนมากจะเป็นบันไดตรงธรรมดา และมีชั้นพัก เพื่อช่วยประหยัดพื้นที่ แต่หากบ้านมีพื้นที่จำกัดจริงๆ อาจเลือกใช้เป็นบันไดวนได้ แต่ควรสร้างโดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย เพราะบันไดวนอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายนั่นเอง ความสูงลูกตั้ง ลูกนอน และ จำนวนขั้นบันได เรื่องของความสูงของลูกตั้งลูกนอนบันไดนั้นมีข้อกำหนดอยู่แล้วในกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ผู้ออกแบบทุกท่านทราบเป็นอย่างดี คือลูกตั้งไม่ควรสูงเกิน 20 ซม. และกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม.ตัวเลขดังกล่าวใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป ซึ่งเป็นความสูงและความกว้างที่ผ่านการศึกษามาแล้วว่าเหมาะสมที่สุด ส่วนจำนวนขั้นบันไดนั้นไม่ได้มีกฎหมายกำหนดไว้ แต่ตามความเชื่อของคนไทยคือบันไดต้องจบที่เลขคี่ เนื่องจาก เลขคี่เป็นเลขของคนเป็น ส่วนเลขคู่นั้นถือว่าเป็นเลขของคนตายนั้นเอง แต่ในความเป็นจริงควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่งมากกว่า จะเลือกสร้างบันไดแบบใด วางอยู่ในทิศทางใดนั้น ก็ควรคำนึงถึงความเหมาะสม ความสว่างซึ่งช่วยให้เกิดความปลอดภัย และควรมีราวบันไดเพื่อช่วยให้จับ และป้องกันการพลัดตกลงมาได้ และอย่าลืมติดตั้งไฟบริเวณบันไดเพื่อใช้ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่มืด
หลายคนพบเจอกับปัญหาไม่ได้ใช้งานชักโครกแต่มิเตอร์น้ำก็ยังทำงานไม่หยุด หรือบางครั้งก็ได้ยินเสียงเหมือนน้ำไหลตลอดเวลา หากเจอปัญหาแบบนี้ เรามีวิธีเช็คและแก้ไขเบื้องต้นด้วยตนเองไม่ยากมาฝากกันครับ ขั้นตอนแรกเริ่มจากสังเกต “ลูกลอย” ว่ามีปัญหาเหล่านี้ไหม ระดับลูกลอย ว่าอยู่สูงหรือต่ำเกินไปหรือเปล่า หากลูกลอยอยู่สูงกว่าปกติ คืออยู่สูงกว่าระดับน้ำในโถกักเก็บน้ำ แสดงว่ามีน็อตบางตัวหลวมหรือคลายตัว ให้แก้ไขโดยการปรับลูกลอยให้ต่ำลงและทำการขันน็อตให้แน่นขึ้น แต่ถ้าหากลูกลอยลดระดับลงต่ำผิดปกติหรือลูกลอยจมน้ำ ให้ถอดลูกลอยมาเช็คว่ามีรอยรั่วหรือการแตกร้าวหรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำซึมเข้าไปในลูกลอย ทำให้น้ำไหลออกทางรูน้ำล้นลงโถตลอดเวลา ซึ่งควรแก้ไขโดยการเปลี่ยนลูกลอยอันใหม่แทน ลูกลอยเสีย ให้ลองยกลูกลอยขึ้นสุด หากน้ำยังคงไหลอยู่ แสดงว่าลูกลอยเสียให้เปลี่ยนลูกลอยใหม่ ขั้นต่อไปให้สังเกต “ลูกกบ” (ทำหน้าที่เปิด–ปิดรูปล่อยน้ำให้ไหลลงสุขภัณฑ์) และ “ยางลูกกบ” (แผ่นยางปิดรูปล่อยน้ำ ทำหน้าที่ซีลหรืออุดร่องระหว่างลูกกบและช่องเปิดปิดน้ำให้แน่นแนบสนิทมากขึ้น) ลูกกบถูกเปิดง้างทิ้งไว้หรือไม่ โดยดูว่าอาจเพราะมีวัตถุบางอย่างติดค้างทำให้ปิดไม่สนิทจนน้ำไหลทิ้ง แก้โดยเอาวัตถุนั้นออกหรือเช็ดทำความสะอาด หากไม่มีวัตถุผิดสังเกตที่ว่า ให้ดูว่าโซ่หรือเชือกที่ดึงเพื่อเปิดปิดน้ำนั้นตึงเกินไปจนทำให้ลูกกบเปิดค้างไว้หรือไม่ แก้โดยปรับสายให้พอดี ไม่ให้ตึงหรือหย่อนเกินไป ลูกกบชำรุดหรือฉีกขาด ต้องทำการเปลี่ยนใหม่ทันที สำหรับลูกกบใหม่ลองนำมาวางปิดรูปล่อยน้ำก่อน ว่าสามารถปิดรูปล่อยน้ำได้สนิทดีหรือไม่ จึงค่อยยึดเข้ากับโซ่หรือเชือกดึง แผ่นยางลูกกบ หรือยางซีลลูกกบปิดไม่สนิท มักเกิดจาก ข้อแรก มีตะไคร่หรือคราบสกปรกเกาะอยู่ แนะนำให้ถอดออกมาทำความสะอาดและติดตั้งกลับเข้าไปใหม่ ข้อสอง เสื่อมสภาพหรือชำรุด
คราบขาวที่ปรากฏบนบล็อกคอนกรีต มักเกิดจากการติดตั้งไม่ถูกวิธี หรือจัดเก็บในที่เปียกชื้อ ทำให้เกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นระหว่างปูนซีเมนต์ น้ำ และออกซิเจน จนกลายเป็นคราบขาวบนผิวบล็อก ซึ่งเรียกว่า คราบเกลือ (Efflorescence) หรือในอีกชื่อคือ ขี้เกลือ วิธีกำจัดคราบขาวที่เกาะอยู่บนผิวหน้าทำได้โดยการใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดังสูง ฉีดอัดลงบนผิวหน้าบล็อคเพื่อให้คราบขาวที่ติดอยู่จางหรือหลุดออก จากนั้นรอให้แห้งและทาด้วยน้ำยาเคลือบผิว หรือหากเกิดคราบขาวบนบล็อกบางแผ่น อาจเลือกเปลี่ยนเฉพาะแผ่น และทาน้ำยาเคลือบผิวบล็อกเช่นกัน สำหรับเจ้าของบ้านที่วางแผนจะตกแต่งพื้นด้วยบล็อกปูพื้น ควรป้องกันการเกิดคราบขาวตั้งแต่การจัดเก็บรักษาบล็อกโดยจัดเก็บในที่แห้ง ระบายอากาศได้ดี รวมถึงการติดตั้งให้ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิต ที่สำคัญควรทาน้ำยาเคลือบผิวคอนกรีตหลังติดตั้งทุกครั้ง และทาซ้ำเป็นประจำทุกๆ 1 ปี เพื่อให้บล็อกทำความสะอาดง่าย ป้องกันทั้งคราบขาว เชื้อราและ ตะไคร่น้ำที่อาจเกิดขึ้นได้ตามการใช้งาน หมายเหตุ: บล็อกปูนพื้นบางรุ่นไม่ควรทาน้ำยาเคลือบผิวบล็อก ควรตรวจสอบข้อมูลการติดตั้งและการดูแลรักษาจากผู้ผลิตก่อนเสมอ cr. SCG
หากพูดถึงบ้านที่อาศัยอยู่แล้วมีความสุข คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยสำคัญอันดับแรกๆ ก็คือเรื่องของความเย็นสบายนั่นเอง การสร้างบ้านให้มีความเย็นสบาย นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการวางผังของบ้าน การจัดวางตำแหน่งบ้านให้สอดคล้องกับทิศทางลม และหลีกเลี่ยงแสงแดดแล้ว การมีตัวช่วยที่ดีอย่างการติดฉนวนกันความร้อน ก็เป็นสิ่งที่จะละเลยไม่ได้ในการสร้างบ้าน ฉนวนกันความร้อน เป็นผู้ช่วยป้องกันความร้อนได้อย่างดี ยิ่งสภาพอากาศอย่างบ้านเราที่ร้อนระอุขึ้นทุกวันแบบนี้ หากไม่มีฉนวนกันความร้อน คงไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ฉนวนกันความร้อนมีหลายชนิด ดังนี้ – ชนิดอยู่ใต้กระเบื้อง เป็นลักษณะแผ่นบางๆ มีตะกั่ว เรียกว่าแผ่นกันความร้อน หรือฉนวนกันความร้อน – ชนิดที่วางอยู่เหนือฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อนชนิดนี้มักจะใช้วางบนฝ้าแขวน ที-บาร์ มีความหนา 2 นิ้ว, 3 นิ้ว หรือ 4 นิ้ว โดยมีไมโครไฟเบอร์สีเหลืองๆ อยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยอะลูมิเนียม ฟอยล์ทั้ง 4 ด้าน – ชนิดที่เป็นฝ้าเพดาน เช่น ยิปซัม ชนิดที่มีฟอยล์อยู่ติดกับแผ่นด้านหนึ่งทำหน้าที่เป็นฝ้าเพดาน อีกด้านหนึ่งทำหน้าที่เป็นแผ่นสะท้อนความร้อน – ชนิดที่พ่นใต้หลังคา ลักษณะเป็นโฟมเหลวๆ เรียกว่า โพลียูริเทนโฟมทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันความร้อนลงมาในอาคารได้ส่วนหนึ่ง – ชนิดพ่นบนหลังคา เป็นประเภทเซรามิค มักจะเป็นของเหลวคล้ายๆ สี นิยมพ่นบนหลังคากระเบื้อง ดาดฟ้าคอนกรีต หรือ บนหลังคาเหล็ก
การสั่งคอนกรีตสำเร็จ หรือคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้งาน เจ้าของบ้านสามารถคำนวณปริมาณคอนกรีตที่ต้องการสั่งได้โดยวัดพื้นที่และความหนาที่ต้องการเทในหน่วยเมตร (ม.) ตามสูตร กว้าง x ยาวx หนา = ปริมาณคอนกรีตที่ต้องสั่ง (หน่วยเป็น ลบ.ม. หรือนิยมเรียกว่า คิว ซึ่งย่อมาจากคิวบิกเมตร) เช่น พื้นที่จอดรถกว้าง 4 ม. ยาว 5 ม. เทคอนกรีตหนา 10 ซม. (0.1 ม.) จะได้ 5 x 4 x 0.10 = 2 คิว หรือ 2 ลบ.ม. ซึ่งการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาส่งที่หน้างานนี้จะใช้รถโม่คอนกรีตวิ่งตรงจากโรงงานที่ใกล้เคียง มี 2 ขนาดคือ รถโม่ขนาดเล็ก สามารถบรรทุกคอนกรีตสูงสุดที่ 2 คิว และรถโม่ขนาดใหญ่ สามารถบรรทุกคอนกรีตสูงสุดที่ 5 คิว นอกจากปริมาณคอนกรีตที่ต้องทราบแล้ว ต้องระบุประเภทงานด้วย เช่น คอนกรีตสำหรับเทเสาเข็ม ฐานราก เสา
รอยแตกร้าวบนแผ่นกระเบื้องหลังคาที่มักนำปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาในบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านหลายท่านอาจเลือกวิธีแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าโดยการอุดซ่อมรอยร้าวด้วยปูนทราย กาวซีเมนต์ (ปูนกาว) หรือแม้แต่ปูนเกราต์ประเภทต่างๆ แต่วิธีนี้อาจช่วยแก้ปัญหาได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เพราะปูนจะมีคุณสมบัติเรื่องการหดตัวจากแสงแดด อุณหภูมิ และความชื้นที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งส่งผลให้เกิดการแตกร้าว และสุดท้ายน้ำฝนก็สามารถซึมผ่านเข้ามาได้อีก ดังนั้น เมื่อกระเบื้องหลังคาแตกร้าว ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระเบื้องหรือครอบหลังคาส่วนต่างๆ วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาหรือครอบแผ่นใหม่ โดยเลือกใช้กระเบื้องรุ่นเดิมเท่านั้น ทั้งนี้ ถึงแม้เลือกกระเบื้องหลังคาเฉดสีเดิม แต่ด้วยล็อตผลิตและอายุการใช้งานที่ต่างกัน จึงอาจทำให้เฉดสีของกระเบื้องหลังคาแผ่นใหม่ต่างจากเดิม ซึ่งสามารถทาสีสำหรับกระเบื้องหลังคาทั้งผืนเพื่อความสวยงามได้ การเปลี่ยนครอบหลังคาใหม่ทั้งที่สันหลังคาและตะเข้สัน ต้องพิจารณาว่าเป็นระบบครอบหลังคาแบบเปียกหรือระบบครอบหลังคาแบบแห้งด้วย เนื่องจากมีวิธีแก้ไขที่ต่างกัน สำหรับระบบครอบหลังคาแบบเปียก – หลังจากรื้อครอบหลังคาเดิมรวมถึงเนื้อปูนปั้นบริเวณครอบหลังคาที่แตกร้าวออกแล้ว ควรทำความสะอาดพื้นผิวครอบหลังคาให้เรียบร้อย จากนั้นจึงปั้นปูนทรายซ่อมแซมใหม่ในสัดส่วนตามมาตรฐาน และมีปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ล้นหรือน้อยจนเกินไป แล้วจึงติดตั้งครอบหลังคา และปาดตัดแต่งเนื้อปูนทรายให้เรียบร้อย เซาะร่องบังคับรอยร้าว เจาะรูระบายน้ำ และทาสีเพื่อความกลมกลืนกับผืนกระเบื้อง (การติดตั้งครอบระบบเปียกต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญพอสมควรเพื่อให้ได้ผลงานออกมาถูกต้องตามมาตรฐาน) แต่หากครอบหลังคาแตกร้าวหลายแผ่น อาจพิจารณารื้อครอบหลังคาออกทั้งแถว และเปลี่ยนเป็นระบบครอบหลังคาแบบแห้งแทน เนื่องจากทำงานง่าย ไม่สกปรก ลดความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าระบบครอบหลังคาแบบเปียก ส่วนระบบครอบหลังคาแบบแห้ง – หากรื้อกระเบื้องที่แตกร้าวออกมาแล้ว ควรตรวจสอบสภาพแผ่นรองใต้ครอบว่าเสียหายหรือเสื่อมสภาพด้วยหรือไม่ ถ้ายังอยู่ในสภาพดีก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะครอบหลังคาได้ แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าแผ่นรองใต้ครอบเกิดความเสียหาย เช่น กาวหลุด แผ่นลอกล่อน หรือติดตั้งผิดวิธี ฯลฯ
ปัญหา “ท่อตัน” สามารถเกิดขึ้นได้และอาจส่งผลกระทบกับส่วนอื่นๆ ของบ้านตามมา หากพบอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นและคาดว่าน่าจะเป็นเพราะท่อตันแล้วละก็ ควรหาสาเหตุของปัญหาและรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นใหญ่ลุกลามจนยากต่อการแก้ไข ท่อตัน มักมีสาเหตุหลักมาจากการสะสมของคราบ เศษสิ่งสกปรก มารวมตัวกันจนเป็นก้อนที่อุดตันทางเดินจนน้ำไม่สามารถระบายได้ดี โดยมักเกิดตามจุดต่างๆ ตั้งแต่ ท่อระบายน้ำฝน ท่อต่างๆ ในห้องน้ำ และท่อในห้องครัว ท่อระบายน้ำฝน มีหลายส่วนที่มีโอกาสเกิดการอุดตัน ตั้งแต่ รางน้ำฝนบนหลังคา พื้นดาดฟ้า และพื้นระเบียง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสะสมของเศษผง ใบไม้แห้ง รวมถึงรังนก ที่ถูกสะสมในรางมาสักระยะหนึ่ง และมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดการอุดตันได้ สำหรับรางน้ำฝน สามารถแก้ได้โดยขจัดเศษสิ่งสกปรกและเศษใบไม้บริเวณปากท่อและภายในท่อระบายน้ำออกให้หมด จากนั้น ควรป้องกันไม่ให้เศษสิ่งสกปรกตกลงไปได้ แล้วจึงติดตั้งตะแกรงครอบบนรางน้ำฝน ส่วนพื้นดาดฟ้าหรือพื้นระเบียง แก้ได้โดยขจัดสิ่งสกปรกบริเวณปากท่อและภายในท่อเช่นเดียวกับกรณีรางน้ำฝน และเลือกใช้ฝาครอบท่อระบายน้ำแบบ Roof Drain ท่อต่างๆ ในห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ ท่อระบายน้ำที่พื้น ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเศษผม ไขสบู่ ยาสีฟัน เศษอาหาร และไขมัน สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้โดยการใช้น้ำยาขจัดท่อระบายน้ำ อุดตันสูตรไม่กัดกร่อนท่อระบายน้ำ (ตามวิธีที่ผู้ผลิตกำหนด) แต่หากยังไม่ดีขึ้นจะต้องแก้ไขเฉพาะจุดที่ยังคงอุดตัน เช่น การใช้ลวดเหล็กเกี่ยวเศษสิ่งสกปรก หรืองูเหล็กทะลวงเอาสิ่งสกปรกที่ติดค้างให้หลุดออกมา หลังจากแก้ไขแล้ว ควรป้องกันโดยเลือกตะแกรงถี่ๆ มาติดตั้งบริเวณปากท่อเพิ่มเข้าไป
เรื่องระบบไฟฟ้าในบ้านเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ท่อร้อยสายไฟ ของเอสซีจี ทั้งสองชนิดจึงผลิตจากวัสดุ uPVC ซึ่งมีคุณสมบัติคงทนต่อความชื้น ไม่ขึ้นสนิม ไม่ลามไฟ สามารถทนความร้อนได้ถึง 60 องศา เป็นฉนวนกันไฟรั่วได้อย่างดี และบำรุงรักษาง่าย ใช้สำหรับร้อยสายไฟ สายโทรศัพท์ รวมถึงสายสัญญาณต่างๆ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยท่อทั้งสองสีนี้มีความแตกต่างต่างกันที่การใช้งานและมาตรฐานการรับรอง ดังนี้ ท่อร้อยสายไฟสีขาว – นิยมใช้ในงานต่อเติมและงานดีไซน์ แบบเดินลอยบนผนัง ด้วยสีที่ดูกลมกลืนกับผนัง – สามารถดัดโค้งงอได้ถึง 90 องศา โดยใช้สปริงดัดท่อแทนความร้อนได้สะดวก และประหยัดข้อต่อ – มาตรฐานสากล JIS C 8430 (มาตรฐานญี่ปุ่น) และ BS หรือ IEC 61386 (มาตรฐานอังกฤษ) ท่อร้อยสายไฟสีเหลือง – เหมาะกับระบบไฟฟ้าที่ฝังในผนัง โดยติดตั้งก่อนการฉาบปูนปกปิดผิว – การดัดโค้งมีข้อจำกัดด้านความสวยงาม เพราะจะเห็นเนื้อสีขาวของท่อบริเวณที่ดัด – มาตรฐานการผลิตอุตสาหกรรม (มอก.) 216-2524 Cr. SCG
สายไฟ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับระบบไฟฟ้าในอาคาร สำหรับผู้ที่คิดจะสร้างบ้านใหม่ หรือคิดที่จะปรับปรุงระบบไฟฟ้าของบ้านเดิมนั้น สิ่งที่มักเป็นคำถามประจำคือ จะเดินสายไฟฝังผนัง หรือแบบลอยดีกว่ากัน ซึ่งทั้งสองแบบนั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของรูปลักษณ์ซึ่งส่งผลต่อสไตล์การตกแต่งบ้าน การก่อสร้าง งบประมาณ และการซ่อมบำรุง การเดินสายไฟแบบฝังผนัง เป็นการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) ที่ฝังไว้ในผนัง ซึ่งทำให้ผนังบ้านดูเรียบร้อย ไม่มีสายไฟให้เห็น แต่ก็มีขั้นตอนในการก่อสร้างที่ยุ่งยาก เพราะต้องมีการวางแผนการก่อสร้างเป็นอย่างดี การซ่อมแซมหรือเพิ่ม-ลดสายไฟทำได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น และใช้งบประมาณมากพอสมควร ส่วนการเดินสายไฟแบบลอย สามารถทำได้ทั้งแบบเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ และการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ ซึ่งจะเห็นสายไฟเป็นเส้นๆ แนบไปกับผนัง การเดินสายไฟแบบลอยจะใช้งบประมาณที่น้อยกว่า และการซ่อมแซมหรือเพิ่ม-ลดสายไฟทำได้ง่ายกว่า แต่ก็ต้องคำนึงถึงการเดินสายไฟให้เป็นระเบียบสวยงาม การเดินสายไฟแบบฝังผนัง สามารถฝังได้ทั้งในผนังเบา และผนังก่ออิฐ สำหรับผนังเบาเป็นผนังที่ประกอบไปด้วยโครงคร่าว ที่มีช่องว่างภายใน สามารถเดินท่อร้อยสายไฟระหว่างโครงคร่าวได้ง่าย แต่จะต้องเดินท่อร้อยสายไฟให้เสร็จก่อนที่จะปิดแผ่นผนัง ในส่วนของผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นอิฐมอญ อิฐบล็อก หรืออิฐมวลเบา หากต้องการฝังท่อไว้ในผนัง จะมีความยุ่งยากมากกว่า เนื่องจากต้องทำการกรีดผนังเพื่อเดินท่อร้อยสายไฟ แล้วฉาบปิดร่องด้วยปูนฉาบ (ปูนทราย) จากนั้นติดลวดกรงไก่ บริเวณที่กรีดผนัง ก่อนทำการฉาบเพื่อป้องกันการแตกร้าวที่ผิวปูนฉาบในภายหลัง ข้อควรระวังคือ ไม่ควรฉาบผนังจนเรียบร้อยแล้วค่อยกรีดผนังเพื่อเดินท่อสายไฟ เพราะการฉาบทับเฉพาะผนังส่วนที่โดนกรีดมักจะทำได้ไม่เนียน และเห็นเป็นรอยปูนฉาบยาวๆ ดูไม่สวยงาม ซึ่งอาจทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในฉาบเก็บความเรียบร้อยของผนังทั้งผืนด้วยปูนฉาบบาง (สกิมโค้ท) หรือปิดทับด้วยวอลล์เปเปอร์